วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

โครงการระบายน้ำถนนเลียบบางพลี-ลาดกระบัง ถนนร่มเกล้า



"... การจัดการควบคุมระดับน้ำในคลองสายต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การจัดระบบระบายน้ำ
ในกรุงเทพมหานครนั้น สมควรวางระบบให้ถูกต้องตามสภาพการณ์และลักษณะภูมิประเทศ
ซึ่งควรแบ่งออกเป็น ๒ แผนด้วยกันคือ แผนสำหรับใช้กับในฤดูฝนหรือในฤดูน้ำมากนี้
ก็เพื่อประโยชน์ในการป้องกันน้ำ ท่วมและเพื่อบรรเทาอุทกภัยเป็นสำคัญ แต่แผนการระบายน้ำในฤดูแล้งนั้น
ก็ต้องจัดอีกแบบหนึ่งต่างกันออกไป เพื่อการกำจัดหรือไล่น้ำเน่าเสียออกจากคลองดังกล่าวเป็นหลัก..."

พระราชดำรัส ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘


จากสภาวะ น้ำท่วมอย่างรุนแรงในพื้นที่กรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๓ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หังทรงห่วงใยในความเดือดร้อนที่เกิดกับชีวิตและ ทรัพย์สินของประชาชนในกรุงเทพฯ ได้พระราชดำริการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมไว้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ในระยะสั้นนั้น ให้เร่งดำเนินการเร่งระบายน้ำออกสู่ทะเลโดยใช้ประโยชน์จากคลองที่อยู่ฟาก ฝั่งตะวันออกของกรุงเทพฯให้เป็นทางระบายน้ำ ส่วนในระยะยาว ให้ดำเนินการดังนี้
- จัดให้มีพื้นที่สีเขียวรอบ ๆ พื้นที่กรุงเทพฯ ให้สามารถแปรสภาพเป็นทางระบายน้ำและเป็นพื้นที่สำหรับเป็นทางไหลผ่านของน้ำ ที่ท่วมหลากเพื่อออกสู่แม่น้ำได้สะดวกมากขึ้น
- สร้างสถานีเก็บกักน้ำตามจุดต่าง ๆ เช่น ตามบึงขนาดใหญ่
- สร้างทำนบป้องกันน้ำจากด้านตะวันออก ไม่ให้ไหลเข้ากรุงเทพฯตลอดจน ขุดคลองหลักต่าง ๆ ในพื้นที่ด้านตะวันออก เพื่อให้เป็นทางน้ำไหลลงสู่อ่าวไทย
- ขุดลอกทางน้ำที่มีอยู่เดิม อาทิ คลองแสนแสบ คลองผดุงกรุงเกษม คลองกระจะ และคลองอื่น ๆ ที่เชื่อมต่อกับคลองแสนแสบ

ต่อมาใน พ.ศ. ๒๕๒๖ ได้เกิดน้ำท่วมหนักในกรุงเทพฯ อีกครั้ง ด้วยพระราชหฤทัยที่ทรงห่วงใยพสกนิกรของพระองค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จ ฯ ตรวจพื้นที่น้ำท่วมและทรงแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ด้วยพระองค์เองถึง ๖ ครั้งด้วยกัน
๘ ตุลาคม เสด็จ ฯ โดยเฮลิคอปเตอร์ ทอดพระเนตรน้ำท่วมบริเวณซอยศูนย์วิจัย ลาดพร้าว บางกะปิ พระโขนงและสำโรง
๑๙ ตุลาคม เสด็จ ฯ โดยเรือยนต์ของกองพันทหารช่างที่ ๑ รักษาพระองค์ไปตามคลองแสนแสบ เพื่อตรวจการก่อสร้างทำนบคลองแสนแสบตามพระราชดำริ
๒๗ พฤศจิกายน เสด็จ ฯ โดยรถยนต์พระที่นั่งทอดพระเนตรสภาพน้ำท่วมบริเวณซอยศูนย์วิจัย
๑๔ พฤศจิกายน เสด็จ ฯ โดยรถยนต์พระที่นั่ง ทอดพระเนตรสภาพนั้าท่วมบริเวณเขตพระโขนงและแขวงบางนา
๒๔ พฤศจิกายน เสด็จฯ โดยรถยนต์พระที่นั่ง ทอดพระเนตรสภาพน้ำท่วมบริเวณคลองพระยาราชมนตรีและทรง พระดำเนินลุยน้ำผ่านทุ่งนาไปยังประตูระบายน้ำคลองพระยาราชมนตรี เป็นระยะทางประมาณ ๑ กิโลเมตร
๒๗ พฤศจิกายน เสด็จ ฯ โดยรถยนต์พระที่นั่ง ทอดพระเนตรสภาพน้ำท่วมบริเวณคลองลาดกระบังและคลองหนอง บอนผ่านตามแนวถนนบางพล
กรมทางหลวงได้น้อมรับพระราชดำริ ด้วยการจัดเร่งระบายน้ำบนพื้นที่ด้านตะวันออกของกรุงเทพฯ ให้ไหลลงสู่ทะเลอ่าวไทยโดยเร็วที่สุด เพื่อมิให้น้ำสะสมจนท่วมขังก่อความเดือนร้อนต่อประชาชน โดยให้สำนักทางหลวง แขวงการทาง ดูแลขุดลอกคลองตามธรรมชาติที่ไหลผ่านทางหลวงให้อยู่ในสภาพพร้อมที่จะรองรับ ปริมาณน้ำให้ไหลผ่านได้อย่างรวดเร็ว พร้อมทั้งได้ประสานงานร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรุงเทพมหานคร กรมชลประทาน กรมเจ้าท่า ในการดำเนินงานขุดลอกคูคลอง การปรับปรุงประตูระบายน้ำ เครื่องสูบน้ำและขยายช่องทางน้ำที่ตีบตันแคบลง เพื่อให้การระบายน้ำมีประสิทธ์ภาพสามารถเร่งระบายลงสู่ทะเลอ่าวไทยได้อย่าง รวดเร็ว เนื่องจากกรุงเทพฯ และปริมณฑลเป็นพื้นที่รองรับน้ำที่ไหลบ่ามาจากทางด้านเหนือระบายลงสู่ทะเล อ่าวไทยโดยแม่น้ำสายหลัก คือ แม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำท่าจีนด้านทิศตะวันตก ในส่วนของด้านตะวันออกเป็นพื้นที่ลุ่ม มีคลองและแม่น้ำเส้นเล็กๆ เช่น แม่น้ำนครนายก แม่น้ำบางปะกง เป็นเส้นทางระบายน้ำแต่ความสามารถในการระบายน้ำมีข้อจำกัด ทำให้มักเกิดปัญหาน้ำท่วมขังในพื้นที่ส่วนนี้ ต่อเนื่องลึกเข้าไปสู่พื้นที่ชั้นกลางและชั้นในของกรุงเทพฯ

สาเหตุของน้ำท่วมในพื้นที่ด้านตะวันออกเพราะเป็นพื้นที่ลุ่ม อีกทั้งยังรองรับน้ำจากส่วนต่าง ๆ กัน ดังนี้
๑. น้ำจากด้านเหนือ ไหลบ่ามาจากเขื่อนเจ้าพระยา ที่จังหวัดชัยนาท และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ที่จังหวัดลพบุรี ไหลข้ามพื้นที่ด้านตะวันออกลงสู่ทะเลทางด้านใต้ ซึ่งต้องใช้เวลาเดินทางของน้ำค่อนข้างมาก เนื่องจากพื้นที่มีความลาดชันต่ำ ทำให้น้ำไหลได้ช้า จนเกิดการสะสมของปริมาณน้ำจำนวนมากในพื้นที่ กลายเป็นปัญหาน้ำท่วมขัง ปัจจุบัน กรมทางหลวงได้ขุดลอกท่อและโครงสร้างทางระบายน้ำตามรอยพระหัตถ์เพื่อแก้ไข ปัญหาดังกล่าว ซึ่งช่วยให้การระบายน้ำมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยกำหนดให้น้ำเหนือที่ไหลจากด้านเหนือไหลเข้าสู่คลองระพีพัฒน์ แยกใต้บริเวณอำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี ไหลลงสู่คลอง ๑๓ และ ๑๔ ซึ่งจะมีปริมาณน้ำส่วนหนึ่งไหลไปตามคลองรังสิตมาตามคลอง ๑๓ ผ่านพื้นที่เขตหนองจอกลงสู่คลองแสนแสบ แล้วเบี่ยงไปทางด้านตะวันออกลงสู่คลองนครเนืองเขตไหลลงแม่น้ำบางปะกงลงสู่ ทะเลต่อไป สำหรับคลองที่มีการขุดลอกและปรับปรุงประตูระบายน้ำเพื่อรองรับเส้นทางระบาย น้ำตามลายพระหัตถ์ ได้แก่ ปากคลอง ๓๓ ปากคลองลาดผักขวง ปากคลอง ๑ อ และท้ายคลอง ๑ อ การเสริมคันคลองลาดผักขวงและคลอง ๑ อ (บางส่วน) การปรับปรุงประตูน้ำพระธรรมราชา และการก่อสร้างประตูระบายน้ำกลางคลองรังสิตประยูรศักดิ์ การดำเนินงานดังกล่าวจะช่วยให้ปริมาณน้ำจากด้านเหนือไม่ต้องไหลผ่านพื้นที่ ลุ่มด้านตะวนออกของกรุงเทพฯ ทั้งหมด โดยน้ำส่วนใหญ่จะเร่งระบายลงสู่แม่น้ำนครนายก แม่น้ำบางปะกงและแม่น้ำปราจีน เพื่อระบายลงสู่ทะเลอ่าวไทย
๒. ปริมาณน้ำฝนและน้ำใช้น้ำทิ้งของอาคารบ้านเรือน โรงงานของประชาชนจำนวนมากในพื้นที่รับน้ำ (Catchment Area) ด้านตะวันออก เป็นสาเหตุหนึ่งที่ก่อให้เกิดน้ำท่วมขัง เนื่องจากมีการก่อสร้างอาคารโครงสร้างต่าง ๆ โดยเฉพาะการถมดินก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ (หนองงูเห่า) ทำให้กีดขวางการไหลของน้ำและสูญเสียพื้นที่รองรับน้ำกว่า ๒๐,๐๐๐ ไร่ ที่เคยใช้เป็นพื้นที่กักเก็บน้ำทางด้านฝั่งตะวันออก ก่อนที่จะค่อยๆ ระบายไหลไปตามคูคลองซึ่งมีขนาดเล็ก ความสามารถในการเร่งระบายมีจำกัด เช่น คลองลาดกระบัง คลองบางโฉลง คลองจระเข้ใหญ่ และคลองเสาธง ก่อนจะไหลสู่คลองสำโรง คลองชายทะเล ลงสู่อ่าวไทย และเนื่องจากความลาดชันของท้องคลองมีน้อย น้ำที่ไหลด้วย Gravity Flow จึงต้องใช้เวลานานในการไหลระบายลงสู่ทะเลด้านใต้ ทำให้น้ำเอ่อล้นท่วมพื้นที่ ๒ ข้างคลอง ซึ่งเดิมมีโครงการพระราชดำริป้องกันไม่ให้น้ำท่วมขังทางด้านตะวันออกนี้ ไหลเข้าท่วมพื้นที่ตัวเมืองสมุทรปราการและพื้นที่กรุงเทพฯ ชั้นกลาง ได้แก่ เขตดอนเมือง บางเขน บึงกุ่ม ลาดพร้าว บางกะปิ สวนหลวง ประเวศ พระโขนง และพื้นที่ใน เช่น คลองเตย ราชเทวี ปทุมวัน สาทร ป้อมปราบ พญาไท
กรมทางหลวงจึงทำการก่อสร้างคันกั้นน้ำ ตั้งแต่ถนนสุขุมวิท (ทางหลวงหมายเลข ๓) เลียบทางหลวงสายบางพลี-ลาดกระบัง สาย ๓๑๑๙ ร่มเกล้า ถนนนิมิตรใหม่ ถนนหทัยราษฎร์ และถนนสุขาภิบาล ๕ (สายไหม) สิ้นสุดบริเวณจุดบรรจบคลองสองสายใต้กับคลองหกวา ในส่วนของกรมชลประทาน ได้มีการศึกษาแนวทางเร่งการระบายน้ำ โดยการขุดอุโมงค์จากบริเวณชายทะเลอ่าวไทยลอดไปออกคลองสำโรง เพื่อดึงน้ำจากพื้นที่ตะวันออกให้ไหลลงสู่ทะเลด้านใต้ได้เร็วขึ้น
๓. การขึ้น-ลงของน้ำทะเลอ่าวไทย ทำให้น้ำทะเลหนุนไหลบ่าเข้าท่วมพื้นที่ด้านล่างบริเวณไกล้ทะเลขณะน้ำขึ้น และน้ำจากพื้นที่ด้านบนไม่สามารถระบายไหลลงสู่ด้านล่างได้สะดวก เกิดน้ำท่วมขังในด้านทิศตะวันออก กรมทางหลวงจึงได้ดำเนินการตามโครงการพระราชดำริแก้มลิง โดยใช้แนวถนนสุขุมวิทเป็นคันกั้นน้ำทะเลที่หนุนท่วมขึ้นมาบนชายฝั่งทะเล และใช้พื้นที่ด้านในของถนนสุขุมวิทเป็นพื้นที่พักน้ำที่ไหลมาจากตอนบน พร้อมทั้งประสานกับกรมชลประทานและกรมโยธาธิการดำเนินการก่อสร้างสถานีสูบน้ำ ตามคลองต่าง ๆ เลียบถนนสุขุมวิทตามแนวคลองชายทะเล โดยมีประสิทธิภาพในการสูบน้ำ ดังนี้
๓.๑ คลองตำหรุ ๒๔ ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
๓.๒ คลองบางปลาร้า ๔๒ ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
๓.๓ คลองบางปลา ๔๒ ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
๓.๔ คลองเจริญราษฎร์ ๗๕ ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
๓.๕ คลองด่าน ๒ ๒๔ ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
๓.๖ คลองชลหารพิจิตร ๖๐ ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
จาก การดำเนินการในครั้งนี้ สามารถรวมปริมาณน้ำที่สามารถสูบออกทะเล ๒๖๗ ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ทำให้น้ำตามคลองต่าง ๆ ของพื้นที่ด้านบนสามารถไหลลงสู่ด้านล่างได้สะดวกรวดเร็วขึ้น เป็นการสนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่มีพระประสงค์จะให้พสกนิกรกรุงเทพฯ และปริมณฑล รอดพ้นจากภัยน้ำท่วม
 

โครงการแก้มลิง

 

"โครงการแก้มลิง" เป็นส่วนหนึ่งของโครงการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลตามแนวพระราชดำริ โดยประกอบด้วยโครงการขุดลอกคลองระบายน้ำและกำจัดวัชพืช โครงการปรับปรุงและก่อสร้างสถานีสูบน้ำและประตูระบายน้ำ ตามที่ได้เกิดสภาวะน้ำท่วมหนักในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๘ อันสืบเนื่องมาจากฝนตกหนักในลุ่มน้ำตอนบน ทำให้ปริมาณน้ำจำนวนมากไหลหลากท่วมพื้นที่อย่างรุนแรงในลุ่มแม่น้ำยมและน่าน เสริมกับปริมาณน้ำล้นอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์ไปหลากท่วมพื้นที่ทางด้าน ท้ายน้ำอย่างหนักและส่งผลกระทบต่สภาวะน้ำท่วมในแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ซึ่งรวมถึงเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล เป็นเวลานานกว่า ๒ เดือน คืนวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๓๘
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าหน้าที่ดูแลปัญหาน้ำท่วมเข้าเฝ้าฯ เพื่อรับพระราชทานแนวพระราชดำริการป้องกันน้ำท่วมในพื้นที่บริเวณกรุงเทพฯ และปริมณฑลโดยทรงเปรียบเทียบการกินอาหารของลิง หลังจากที่ลิงเคี้ยวกล้วยแล้วจะยังไม่กลืน แต่จะเก็บไว้ภายในแก้มทั้งสองข้าง แล้วค่อย ๆ ดุนกล้วยมากินในภายหลัง เช่นเดียวกับกรณีการผันน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยารวมทั้งน้ำที่ขึ้นมาตามซอยต่าง ๆ เมื่อน้ำทะเลหนุน ให้ไปเก็บไว้ที่บึงใหญ่ที่อยู่ใกล้กับพื้นที่ชายทะเล และมีประตูน้ำขนาดใหญ่สำหรับปิดกั้นน้ำบริเวณแก้มลิง สำหรับฝั่งตะวันตกจะอยู่ที่คลองชายทะเล ด้านฝั่งตะวันออกบริเวณแก้มลิงจะอยู่ที่คลองสรรพสามิต เมื่อเวลาน้ำทะเลลดลงให้เปิดประตูระบายน้ำออกไป บึงจะสามารถรับน้ำชุดใหม่ต่อไป

สำหรับแนวทางที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริแก้ไขปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯ คือ
ประการแรก    สร้างคันกั้นน้ำโดยปรับปรุงแนวถนนเดิม
ประการที่ ๒  จัดให้มีพื้นที่สีเขียว (Green Belt) ตามพระราชดำริเพื่อกันการขยายตัวของเมือง และเพื่อแปรสภาพให้เป็นทางระบายน้ำ เมื่อมีน้ำหลาก
ประการที่ ๓   ดำเนินการขุดลอกคลอง ขยายคลองที่มีอยู่เดิมและขุดใหม่นอกแนวคันกั้นน้ำ
ประการที่ ๔   สร้างสถานที่เก็บน้ำตามจุดต่าง ๆ
ประการที่ ๕    ขยายช่องทางรับน้ำที่ผ่านทางรถไฟและทางหลวง กรมทางหลวงได้ดำเนินการตาม "โครงการพระราชดำริแก้มลิง" โดยใช้แนวถนนสุขุมวิทเป็นคันกั้นน้ำทะเลที่หนุนท่วมขึ้นมาบนชายฝั่งทะเล และใช้พื้นที่ด้านในของถนนสุขุมวิทเป็นพื้นที่พักน้ำที่ไหลมาจากตอนบน พร้อมทั้งประสานงานกับกรมชลประทานและกรมโยธาธิการดำเนินการก่อสร้างสถานีสูบ น้ำตามคลองต่าง ๆ เลียบถนนสุขุมวิทตามแนวคลองชายทะเล โดยมีประสิทธิภาพในการสูบน้ำตามคลองต่าง ๆ คือ คลองตำหรุ คลองบางปลาร้า คลองบางปลา คลองเจริญราษฎร์ คลองด่าน คลองชลหารพิจิตร รวมปริมาณน้ำที่สามารถสูบออกทะเล ๒๖๗ ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ทำให้น้ำตามคลองต่าง ๆ ของพื้นที่ด้านบนสามารถไหลลงสู่ด้านล่างได้สะดวกรวดเร็วขึ้น

การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลตามแนวพระราชดำริ  "แก้มลิง" มีลักษณะและวิธีการดังนี้
๑. ดำเนินการระบายน้ำออกจากพื้นที่ตอนบน ให้ไหลลงคลองพักน้ำขนาดใหญ่ที่บริเวณชายทะเล
๒. เมื่อระดับน้ำทะเลลดต่ำกว่าระดับน้ำในคลอง ก็ทำการระบายน้ำจากคลองดังกล่าว โดยใช้หลักทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของโลก (Gravity Flow) ตามธรรมชาติ
๓. สูบน้ำออกจากคลองที่ทำหน้าที่ "แก้มลิง" นี้ เพื่อทำให้น้ำตอนบนค่อย ๆ ไหลมาเองตลอดเวลา ส่งผลให้ปริมาณน้ำท่วมพื้นที่ลดน้อยลง
๔. เมื่อระดับน้ำทะเลสูงกว่าระดับน้ำในลำคลอง ให้ทำการปิดประตูระบายน้ำ โดยยึดหลักน้ำไหลลงทางเดียว (One Way Flow)

หลักการ ๓ ประการ ที่จะทำให้โครงการแก้งลิงมีประสิทธิภาพบรรลุผลสำเร็จตามแนวพระราชดำริ คือ การพิจารณา
๑. สถานที่ที่จะทำหน้าที่เป็นบ่อพักและวิธีการชักนำน้ำท่วมไหลเข้าสู่บ่อพักน้ำ
๒. เส้นทางน้ำไหลที่สะดวกต่อการระบายน้ำเข้าสู่แหล่งที่ทำหน้าที่บ่อพักน้ำ
๓. การระบายน้ำออกจากบ่อพักน้ำต้องเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
" โครงการแก้มลิงฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา" ใช้คลองชายทะเลตั้งอยู่ริมทะเลด้านจังหวัดสมุทรปราการทำหน้าที่เป็นบ่อพัก น้ำหรือบ่อรับน้ำ ส่วน "โครงการแก้มลิง ในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา" ทำหน้าที่รับน้ำในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อระบายออกทะเล ด้านจังหวัดสมุทรสาคร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริเพื่อให้การระบายน้ำท่วม ออกทะเลเร็วขึ้นด้วยวิธีการต่าง ๆ อาทิ โครงการแก้มลิง "แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง" ซึ่งใช้หลักการในการควบคุมน้ำในแม่น้ำท่าจีน คือ เปิดระบายน้ำจำนวนมากลงสู่อ่าวไทยเมื่อระดับน้ำทะเลต่ำ        

โครงการแก้มลิงแม่น้ำท่าจีนตอนล่างจะมีประสิทธิภาพสมบูรณ์ต้องดำเนินการครบระบบ ๓ โครงการด้วยกัน คือ
๑. โครงการแก้มลิง "แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง
๒. โครงการแก้มลิง "คลองมหาชัย-คลองสนามชัย"
๓. โครงการแก้มลิง "คลองสุนัขหอน"
                โครงการแก้มลิงนับเป็นนิมิตหมายที่จะนำพาชาวไทยให้รอดพ้นจากทุกข์ภัย ที่นำความเดือนร้อนแสนลำเค็ญมาสู่ชีวิตที่อบอุ่นปลอดภัย ซึ่งแนวพระราชดำริอันเป็นทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านน้ำท่วมนี้ มีพระราชดำริเพิ่มเติมว่า "...ได้ดำเนินการในแนวทางที่ถูกต้องแล้ว ขอให้รีบเร่งหาวิธีปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพต่อไป เพราะโครงการแก้มลิงในอนาคตจะสามารถช่วยพื้นที่ได้หลายพื้นที่..."
 
 

ที่มาโครงการพระราชดำริฝนหลวง
"...แต่ มาเงยดูท้องฟ้า มีเมฆ ทำไมมีเมฆอย่างนี้ ทำไมจะดึงเมฆนี่ลงมาให้ได้ก็เคยได้ยินเรื่องการทำฝน
ก็มาปรารภกับคุณเทพฤทธิ์ ฝนทำได้มี มีหนังสือ เคยอ่านหนังสือทำได้..." 

 

  โครงการพระราชดำริฝนหลวง เป็นโครงการที่ก่อกำเนิดจาก   พระมหากรุณาธิคุณ ที่ทรงห่วงใยในความทุกข์ยากของพสกนิกรในท้องถิ่นทุรกันดาร ที่ต้องประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ เพื่ออุปโภคบริโภคและเกษตรกรรม อันเนื่องมาจากภาวะแห้งแล้งซึ่งมีสาเหตุมาจาก ความผันแปร และคลาดเคลื่อนของฤดูกาลตามธรรมชาติ กล่าวคือ ฤดูฝนเริ่มต้นล่าเกินไป หรือหมดเร็วกว่าปกติหรือฝนทิ้งช่วงยาวในช่วงฤดูฝน จากพระราชกรณียกิจในการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพสกนิกรในทุกภูมิภาคอย่างต่อ เนื่องสม่ำเสมอนับแต่เสด็จขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ จนตราบเท่าทุกวันนี้ ทรงพบเห็นว่าภาวะแห้งแล้ง ได้ทวีความถี่ และมีแนวโน้มว่าจะรุนแรงยิ่งขึ้นตามลำดับ เพราะนอกจากความผันแปรและคลาดเคลื่อนของฤดูกาลตามธรรมชาติแล้ว การตัดไม้ทำลายป่า ยังเป็นสาเหตุให้สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งสร้างความเดือดร้อนให้แก่ราษฎร ในทุกภาคของ
 
          ประเทศ ทำความเสียหายแก่เศรษฐกิจโดยรวมของชาติเป็นมูลค่ามหาศาลในแต่ละปี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในปี พ.ศ. 2498 ครั้งเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนราษฎรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน ตามเส้นทางเสด็จพระราชดำเนินทรงสังเกตเห็นว่ามี เมฆปริมาณมากปกคลุมท้องฟ้า แต่ไม่สามารถก่อรวมตัวกัน จนเกิดเป็นฝนได้ เป็นเหตุให้เกิดภาวะฝนทิ้งช่วงระยะยาวทั้ง ๆ ที่เป็นช่วงฤดูฝน ทรงคิดคำนึงว่า น่าจะมีมาตรการทางวิทยาศาสตร์ ที่จะช่วยให้เมฆเหล่านั้นก่อรวมตัวกันจนเกิดเป็นฝนได้ ทรงเชื่อมั่นว่า ด้วยลักษณะของภูมิอากาศ และภูมิประเทศของประเทศไทยซึ่งตั้งอยู่ในภูมิภาคเขตร้อน และอยู่ในอิทธิพลของฤดูมรสุมของทวีปเอเชีย โดยเฉพาะฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งเป็นฤดูฝน และเป็นฤดูเพาะปลูกประจำปีของประเทศไทย จะสามารถดัดแปรสภาพอากาศ ให้เกิดเป็นฝนตกได้ อย่างแน่นอน ตามที่ทรงเล่าไว้ใน The Rainmaking Story จากปี พ.ศ. 2498 เป็นต้นมา ทรงศึกษาค้นคว้า และวิจัยทางเอกสาร ทั้งด้านวิชาการอุตุนิยมวิทยา และการดัดแปรสภาพอากาศ ซึ่งทรงรอบรู้ และเชี่ยวชาญ เป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศ จนทรงมั่นพระทัย จึงพระราชทานแนวคิดนี้แก่ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล ผู้เชี่ยวชาญในการวิจัยประดิษฐ์ทางด้านเกษตรวิศวกรรม ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ขณะนั้น ซึ่งในปีถัดมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้หาลู่ทางที่จะทำให้เกิดการทดลองปฏิบัติการในท้องฟ้าให้เป็นไปได้
 
 
การทดลองในท้องฟ้าเป็นครั้งแรก
           ปี พ.ศ. 2512 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดตั้งหน่วยบินปราบศัตรูพืชกรมการข้าว และพร้อมที่จะให้การสนับสนุนในการสนองพระราชประสงค์   ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล จึงได้นำความขึ้นกราบ บังคมทูลพระกรุณาทรงทราบว่า พร้อมที่จะดำเนินการตามพระราชประสงค์แล้ว ดังนั้นในปีเดียวกันนั้นเอง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำการทดลองปฏิบัติการจริงในท้องฟ้าเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 1-2  กรกฎาคม 2512 โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แต่งตั้งให้ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล เป็นผู้อำนวยการโครงการ และหัวหน้าคณะปฏิบัติการทดลอง เป็นคนแรก และเลือกพื้นที่วนอุทยานเขาใหญ่เป็นพื้นที่ทดลองเป็นแห่งแรก โดยทดลองหยอดก้อนน้ำแข็งแห้ง (Dry Ice หรือ Solid Carbon dioxide) ขนาดไม่เกิน 1 ลูกบาศก์นิ้ว เข้าไปในยอดเมฆสูงไม่เกิน 10,000 ฟุต ที่ลอยกระจัดกระจายอยู่เหนือพื้นที่ทดลองในขณะนั้น ทำให้กลุ่มเมฆทดลองเหล่านั้นมีการเปลี่ยนแปลงทางฟิสิกส์อย่างเห็นได้ชัดเจน เกิดการกลั่นรวมตัวกันหนาแน่น และก่อยอดสูงขึ้นเป็นเมฆฝนขนาดใหญ่ ในเวลาอันรวดเร็วแล้วเคลื่อนตัวตามทิศทางลมพ้นไปจากสายตา ไม่สามารถสังเกตได้เนื่องจากยอดเขาบัง แต่จากการติดตามผลโดยการสำรวจทางภาคพื้นดิน และได้รับรายงานยืนยันด้วยวาจาจากราษฎรว่า เกิดฝนตกลงสู่พื้นที่ทดลองวนอุทยานเขาใหญ่ในที่สุด นับเป็นนิมิตหมายบ่งชี้ให้เห็นว่าการบังคับเมฆให้เกิดฝนเป็นสิ่งที่เป็นไป ได้
 
พระปฐมบรมราโชวาท
เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร  เพื่อทอดพระเนตรการทดลอง  ทำฝนหลวงของคณะเจ้าหน้าที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2512   ที่สนามบินบ่อฝ้าย อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  ได้พระราชทานพระบรมราโชวาทให้คณะปฏิบัติการฯ พยายามอดทนต่อความยากลำบาก เพราะเป็นงานที่มีความสำคัญยิ่งในการ ช่วยให้ประชาชนคลายความเดือดร้อนจากการขาดแคลนน้ำ ทรงแนะนำให้ศึกษาข้อมูลและปัจจัยที่เกี่ยวข้องทางภาคพื้นดินให้มากยิ่งขึ้น เช่น แผนภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ทางภาคพื้นดินในอาณาบริเวณนั้น การสร้างเปอร์เซ็นต์ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศตอนใกล้พื้นดินให้สูงขึ้น พร้อมกับทรงสาธิตให้คณะเจ้าหน้าที่ดูวิธีการสร้างความชื้นสัมพัทธ์โดยโปรด เกล้าฯ ให้รถดับเพลิงของพระราชวังไกลกังวลมาพ่นละอองน้ำให้เป็นฝอยขึ้นในอากาศ แล้วเสด็จฯ เข้าไปในละอองน้ำที่ฉีด เพื่อนำเครื่องมือเข้าไปวัดความชื้นโดยไม่หวั่นว่าพระวรกายจะเปียกเปื้อนแต่ ประการใด ปรากฏว่าสามารถสร้างความชื้นสัมพัทธ์ได้ตามที่ทรงรับสั่ง นอกจากนั้นยังทรงแนะนำว่าควร เพิ่มหน่วยสังเกตการณ์ภาคพื้นดินเพื่อจะได้ศึกษาปริมาณน้ำฝนตามจุดต่างๆ และได้ข้อมูลอื่นๆ ละเอียดยิ่งขึ้น
จากพระบรมราโชวาทพระราชทานในครั้งนั้น เป็นพระปฐมบรมราโชวาทที่คณะปฏิบัติการทดลองได้น้อมรับใส่เกล้าใส่กระหม่อม และได้ปฏิบัติตามสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้

1. การวิจัยและค้นคว้าทดลองเป็นสิ่งสำคัญต้องดำเนินการต่อเนื่องไปไม่มีที่สิ้นสุด
2. อย่าสนใจต่อข้อวิพากษ์วิจารณ์ที่ก่อให้เกิดความท้อแท้ใจให้มุ่งมั่นพัฒนาต่อไป
3. ให้บันทึกรวบรวมไว้เป็นตำรา
 

โครงการศูนย์พัฒนาปศุสัตว์ตามพระราชดำริ

 

ชื่อโครงการ : โครงการศูนย์พัฒนาปศุสัตว์ตามพระราชดำริ
ถนนเลย – ด่านซ้าย บ้านเดิ่น ตำบลด่านซ้าย อำเภอด่านซ้าย
 
ที่ตั้งโครงการ : หมู่บ้านเดิ่น หมู่ที่ 3 ตำบลด่านซ้าย อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย
มีพื้นที่ได้รับประโยชน์ 11 หมู่บ้าน เกษตรกรประมาณ 493 ครัวเรือน
 
 
ความเป็นมา : เมื่อ พ.ศ. 2525 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มีพระราชดำริให้ทดลองปลูกผลไม้เมืองหนาว เพื่อสาธิตและเผยแพร่แก่เกษตรกรที่หลักกิโลเมตรที่ 2 ถนนด่านซ้าย บ้านเดิ่น ตำบลด่านซ้าย อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ในที่ดินจำนวน 39 ไร่ ซึ่งกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ จังหวัดชลบุรี ได้เข้าไปดำเนินการเพื่อสนองพระราชดำริ โดยใช้ชื่อโครงการว่า "โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาการเกษตรตามพระราชดำริ" ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเห็นว่า บริเวณข้างเคียงเป็นที่ดินสาธารณะสำหรับเลี้ยงสัตว์ที่อำเภอด่านซ้ายสงวนไว้ จำนวนประมาณ 1,200 ไร่ จึงทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้กรมปศุสัตว์เข้าไปดำเนินการสำรวจพื้นที่ เพื่อพัฒนาให้เป็นศูนย์สาธิตด้านปศุสัตว์ และพระราชทานเปลี่ยนชื่อโครงการเป็น "โครงการศูนย์พัฒนาปศุสัตว์ ตามพระราชดำริ อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย
 
วัตถุประสงค์โครงการ :
1. เพื่อสนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ให้เป็นศูนย์พัฒนาปศุสัตว์สำหรับส่งเสริมอาชีพและเพิ่มพูนรายได้แก่เกษตรกร ด้านการเลี้ยงปศุสัตว์ฅ
2. เพื่อเป็นสถานที่ฝึกอบรมและเผยแพร่ความรู้ด้านปศุสัตว์ให้แก่เกษตรกร และสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประกอบอาชีพ
3. เพื่อสาธิตการเลี้ยงปศุสัตว์ร่วมกับการทำเกษตรแบบผสมผสาน
และเกษตรกรสามารถนำไปปฏิบัติใช้พัฒนาอาชีพเป็นการเลี้ยงสัตว์แบบธุรกิจ
4. เพื่อสาธิตการผลิตและการใช้แปลงหญ้า ให้บริการพันธุ์พืชอาหารสัตว์แก่เกษตรกรผู้สนใจ
 
หน่วยงานที่รับผิดชอบ :
สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเลย กรมปศุสัตว์ โทรศัพท์ : 0-4281-1572
เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ : นายชาคริต เอี่ยมจันทร์ ปศุสัตว์อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย โทรศัพท์ :
0-4289-2132 / 08-9622-5160
 
ประเภทโครงการ : การเกษตร, ส่งเสริมอาชีพ
ลักษณะโครงการ :
1.เลี้ยงสัตว์เพื่อการสาธิต
2.ฝึกอบรมเกษตรกรให้มีความรู้เรื่องการเลี้ยงและการป้องกันโรคระบาดสัตว์เบื้องต้น
3.ส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์สู่เกษตรกรให้สามารถผลิตอาหารโปรตีนและจำหน่ายเป็น รายได้เสริมแก่ครัวเรือน/โรงเรียน/ฟาร์มตัวอย่าง
งบประมาณ :
1. ปีงบประมาณเริ่มต้น : ปีงบประมาณ พ.ศ. 2525
2. แหล่งงบประมาณ : กรมปศุสัตว์
3. งบประมาณที่ได้รับ ดังนี้
ปี 2549 ได้รับงบประมาณ จำนวน 1,475,090 บาท
ปี 2549 ได้รับงบประมาณ จำนวน 1,475,090 บาท
ปี 2550 ได้รับงบประมาณ จำนวน 2,259,934 บาท
ปี 2551 ได้รับงบประมาณ จำนวน 2,471,940 บาท
ปี 2552 ได้รับงบประมาณ จำนวน 7,537,690 บาท
 
ผลการดำเนินการ ปี 2551
แผนการปฏิบัติงาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2551  
กิจกรรม
หน่วยนับ
แผนปี 2551
ผลงาน
คิด %
1. งานสาธิตการเลี้ยงไก่




1.1 โคเนื้อ
ตัว
5
18
360
1.2 สุกร  
ตัว
19
27
142.11
     - ผลิตลูกสุกร
ตัว
90
110
123
1.3 แพะ – แกะ
ตัว
10
13
130
1.4 เป็ด -ไก่
ตัว
252
483
191.67
     - ผลิตลูกเป็ด – ไก่
ตัว
3,528
6,804
192.86
2. ฝึกอบรม




2.1 เกษตรกรเลี้ยงสุกร
ราย
20
20
100
2.2 เกษตรกรเลี้ยงสัตว์ปีก
ราย
80
80
100
2.3 กลุ่มเกษตรกร
กลุ่ม/ราย
2/40
2/40
100
2.4 ครู-นักเรียน
โรงเรียน
10
10
100
3. ส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์




3.1 สุกร
ราย/ตัว
20/40
29/55
145/135.5
3.2 สัตว์ปีก
ราย/ตัว
80/800
298/5,275
372.5/659.38
3.3 โรงเรียน
โรงเรียน
10
10
100
4. นอกแผนงาน




4.1 โรงเรียนตัวอย่าง
โรงเรียน
2
2
100
4.2 ฟาร์มตัวอย่าง
ฟาร์ม
2
2
100
5. งบประมาณ




5.1 งบบุคลากร
บาท
2,119,940
2,119,940
100
5.2 งบดำเนินงาน
บาท
901,200
901,200
100
5.3 งบประมาณที่โอนเพิ่มเติมระหว่างปี
บาท
1,218,740
1,218,740
100
5.4 งบ กปร.
บาท
-
-
-
ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ :
โรงเรียน และเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้ความเข้าใจในการเลี้ยงสัตว์ ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง และเป็นการสนับสนุนโครงการอาหารกลางวันของเด็กนักเรียน สร้างรายได้เสริมให้แก่ครอบครัวของเกษตรกร
 

การเกิดโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

 


โดยมีขั้นตอนการดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ดังนี้ คือ
 
๑. เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับอยู่ในพระตำหนัก แต่มีเหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้น เช่น มีพายุ หรืออุทกภัย ทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก ก็จะมีพระราชดำริให้เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องไปดำเนินการช่วยเหลือ
 
๒. เมื่อ เสด็จพระราชดำเนินยังพื้นที่ต่างๆ จะพระราชทานพระราชดำริให้กับคณะผู้ตามเสด็จฯ (องคมนตรี เจ้าหน้าที่กรม /กอง ที่เกี่ยวข้อง ผู้ว่าราชการจังหวัด เจ้าหน้าที่สำนักงาน กปร. ฯลฯ)ดำเนินการโครงการต่างๆ
 
 
        
• เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องซึ่งรับสนองพระราชดำริ จัดทำโครงการเสนอผู้บังคับบัญชาจนถึงปลัดกระทรวง
เพื่อนำส่งสำนักงาน กปร.
• สำนักงาน กปร. ประสานงาน วิเคราะห์ ว่าสอดคล้องกับพระราชดำริ แล้วนำเสนอ กปร.
เพื่อพิจารณาอนุมัติ
• ที่ประชุม กปร. หรือ ประธาน กปร. พิจารณาอนุมัติ
• สำนักงาน กปร.แจ้งหน่วยงาน และสำนักงบประมาณ เพื่อดำเนินการต่อไป
• หน่วยงานเหล่านั้นดำเนินการตามแผนงานโครงการ
• สำนักงาน กปร. ทำการติดตาม ประเมินผล จัดทำรายงานทูลเกล้าฯ
ถวาย แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อปรับปรุงแก้ไขให้ได้ประโยชน์สูงสุดตามพระราช ดำริที่ได้พระราชทานไว้
 
 
๓. การถวายฎีกา มีขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้
 
• เมื่อมีการถวายฎีกาเกี่ยวกับโครงการทางด้านการพัฒนา
• สำนักงาน กปร. จะทำหน้าที่ตรวจสอบข้อมูล หาข้อเท็จจริง เพื่อจัดทำรายละเอียดกราบบังคมทูลฯ เพื่อขอพระราชทานพระราชวินิจฉัย
• หากทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริก็จะพระราชทานแนวพระราชดำริว่าควร พัฒนาตรงนั้นอย่างไร จากนั้น สำนักงาน กปร. ก็จะดำเนินการประสานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าดำเนินการเช่นเดียวกับ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ